สุริยุปราคา 9 มีนาคม พ.ศ. 2559
สุริยุปราคา 9 มีนาคม พ.ศ. 2559

สุริยุปราคา 9 มีนาคม พ.ศ. 2559

เกิดสุริยุปราคาเต็มดวงในวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2559 เกิดเมื่อดวงจันทร์ผ่านระหว่างโลกและดวงอาทิตย์ ฉะนั้นจึงขวางภาพดวงอาทิตย์ทั้งหมดหรือบางส่วนแก่ผู้สังเกตบนโลก สุริยุปราคาเต็มดวงเกิดเมื่อเส้นผ่านศูนย์กลางปรากฏของดวงจันทร์ใหญ่กว่าเส้นผ่านศูนย์กลางปรากฏของดวงอาทิตย์ จึงสกัดแสงอาทิตย์โดยตรงทั้งหมด แล้วทำให้ความมืดปกคลุม คราสเต็มดวง (totality) เกิดในวิถีแคบผ่านพื้นผิวโลกโดยสามารถเห็นสุริยุปราคาบางส่วนได้เหนือภูมิภาคโดยรอบกว้างหลายพันกิโลเมตรมีความส่องสว่าง 1.0450 ช่วงเวลาคราสเต็มดวงนานที่สุด คือ 4 นาที 9 วินาที เห็นได้ส่วนใหญ่ของมหาสมุทรแปซิฟิก โดยเริ่มต้นจากอินโดนีเซีย และไปจบที่มหาสมุทรแปซิฟิกตอนเหนือ[1]ถ้าสังเกตจากทางตะวันออกของเส้นแบ่งเขตวันสากล เช่น ฮาวาย จะมองเห็นอุปราคาครั้งนี้ในวันที่ 8 มีนาคม (ตามเวลาท้องถิ่น), ส่วนอินโดนีเซียโชคไม่ดีนัก เพราะในเดือนมีนาคม กว่า 60-70% ของพื้นที่มักมีเมฆปกคลุมในเดือนมีนาคม ท้องฟ้าที่แจ่มใสเป็นไปได้ว่าจะอยู่ทางตะวันออกในมหาสมุทรแปซิฟิก[2] อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 สำนักอุตุนิยมวิทยา ภูมิอากาศวิทยา และธรณีฟิสิกส์แห่งอินโดนีเซีย (BMKG) ได้พยากรณ์ว่าส่วนตะวันตกของอินโดนีเซีย มีความเป็นไปได้ที่จะมีการปกคลุมของเมฆน้อย และมีโอกาสเกิดฝนตก 20 เปอร์เซ็นต์ในเมืองทางตะวันตก เช่น เบิงกูลู ปาเล็มบัง ปาลังการายา และปาลู ซึ่งน้อยกว่าทางตะวันออก ซึ่งมีโอกาสเกิดฝนตกถึง 90 เปอร์เซ็นต์ในเตอร์นาตี และมาบา ด้วยความแม่นยำที่ 65 เปอร์เซ็นต์[3]สำหรับประเทศไทยจะสังเกตเห็นอุปราคาครั้งนี้ได้ทั่วประเทศ โดยเห็นเป็นสุริยุปราคาบางส่วนในเวลาเช้า โดยเริ่มสังเกตได้เวลา 06:38 น. ดวงจันทร์บังลึกที่สุดเวลา 07:32 น. และสิ้นสุดในเวลา 08:32 น. รวมระยะเวลา 1 ชั่วโมง 54 นาที[4]

สุริยุปราคา 9 มีนาคม พ.ศ. 2559

แซรอส 130 (52 จาก 73)
ประเภท เต็มดวง
แกมมา 0.2609
ความส่องสว่าง 1.045
บดบังมากที่สุด 01:58:19
ความกว้างของเงามืด 155 กิโลเมตร
บัญชี # (SE5000) 9543
ระยะเวลา 249 วินาที (4 นาที 9 วินาที)
(U4) สิ้นสุดอุปราคาเงามืด 03:38:20
พิกัด 10°06′N 148°48′E / 10.1°N 148.8°E / 10.1; 148.8
(P1) เริ่มอุปราคาบางส่วน 23:19:20
(U1) เริ่มอุปราคาเงามืด 00:15:57
(P4) สิ้นสุดอุปราคาบางส่วน 04:34:55

ใกล้เคียง

สุริยุปราคา สุริยุปราคา 8 เมษายน พ.ศ. 2567 สุริยุปราคา 2 ตุลาคม พ.ศ. 2567 สุริยุปราคา 9 มีนาคม พ.ศ. 2559 สุริยุปราคา 24 ตุลาคม พ.ศ. 2538 สุริยุปราคา 21 สิงหาคม พ.ศ. 2560 สุริยุปราคา 21 มิถุนายน พ.ศ. 2563 สุริยุปราคา 4 ธันวาคม พ.ศ. 2564 สุริยุปราคา 14 ตุลาคม พ.ศ. 2566 สุริยุปราคา 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411

แหล่งที่มา

WikiPedia: สุริยุปราคา 9 มีนาคม พ.ศ. 2559 http://home.cc.umanitoba.ca/~jander/tot2016/tot201... http://sains.kompas.com/read/2016/02/11/19384051/D... http://www.timeanddate.com/eclipse/in/thailand/ban... http://xjubier.free.fr/en/site_pages/solar_eclipse... http://eclipse.gsfc.nasa.gov/SEbeselm/SEbeselm2001... http://eclipse.gsfc.nasa.gov/SEcat5/SE2001-2100.ht... http://eclipse.gsfc.nasa.gov/SEgoogle/SEgoogle2001... http://eclipse.gsfc.nasa.gov/SEgoogle/SEgoogle2001... http://eclipse.gsfc.nasa.gov/SEplot/SEplot2001/SE2... http://eclipse.gsfc.nasa.gov/SEsaros/SEsaros130.ht...